Ads 468x60px

  • หัวข้อ-1

  • หัวข้อ-2 GOES HERE

  • หัวข้อ-3 GOES HERE

  • หัวข้อ-4 GOES HERE

  • หัวข้อ-5


สุขภาพดีวิถีไทยมุสลิม


สรุปผลการดำเนินงานโครงการสุขภาพดีวิถีไทยมุสลิม
ของสถานีอนามัยตำบลตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา






1. ชื่อโครงการ  สุขภาพดีวิถีไทยมุสลิม

2. ผู้รับผิดชอบและดำเนินงานโครงการ
                  นายรูสลาม   สาร๊ะ                         ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนชำราญงาน
                  นางสาวอิสติณนา  มูหะมัด             ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข

3. หน่วยงานสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ 
                  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา


4. แนวคิดการจัดทำโครงการ   
                   จากสถานการณ์ ของโรคไม่ติดต่อในชุมชนบ้านบาลูกาลูวะห์  ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นประกอบกับมัสยิดบ้านบาลูกาลูวะห์ได้รับ  รางวัลมัสยิดส่งเสริมสุขภาพดี เด่น ระดับจังหวัด ทำให้ ร.พ.ส.ต.ตะโล๊หะลอ เลือกชุมชนบ้านบาลูกาลูวะห์ เป็นชุมชนต้นแบบในการ  ลดโรคไมติดต่อ  และการออกกำลังกาย ซึ่งชุมชนบ้านบาลูกาลูวะห์ประกอบด้วย  ชาวบ้านหมู่ที่2  และหมู่ที่5

5. ผลการดำเนินงาน
                จากการดำเนินงานสุขภาพดีวิธีไทยมุสลิมในสัปปะบุรุษมัสยิดอัลอิสติกอมะห์ ทำให้เกิดกระแสการตื่นตัว อยู่ 2 อย่าง อย่างแรกตื่นตัวในเรื่องการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ  และวัยรุ่นโดยวิธีการเดินบนลานหินในช่วงเช้าตรู่ของวันประมาณเวลา 05.00 น. 06.30 น.หลังจากละหมาดซุบฮี และหลังละหมาดอื่นๆอีก 4 เวลา ผู้สูงอายุหลายคนบอกว่ารู้สึกสดชื่น และกระปรี่กระเปร่ามาก และจากการใช้สมุดบันทึกสุขภาพทำให้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการออกกำลังกายเป็นประจำ และสะดวกมากขึ้น เมื่อมีสอง ภาษา เพราะผู้สูงอายุบางคน อ่านภาษายาวีได้ อ่านภาษาไทยไม่ได้  กระแสตื่นตัวอย่างที่ 2 ตื่นตัวในการลด หวาน มัน เค็ม ในชุมชน จาการมองเห็นภาพของอันตรายในการกิน หวาน มัน เค็ม ทำให้ในงานอาซูรอปีนี้จึงมีการจัดประกวดอาซูรอแบบจืดและลดมัน แต่อร่อยขึ้น ซึ่งอาหารประเภทอาซูรอเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพราะผสมธัญพืช มากมายหลายอย่างที่มีอยู่ ในชุมชน ปลุกกระแส ปลูกผักเองกินเองของชุมชนบาลูกาลูวะห์ และจากการให้ความรู้ในสมุดบันทึกสุขภาพ ภาษายาวี ทำให้ผู้สูงอายุบางคนไม่กินผงชูรสไปเลย

6. วิธีการดำเนินการ
      1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      2. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ในสถานีอนามัยทุกท่านให้ทราบถึงโครงการ และ ชี้แจงคณะกรรมการมัสยิด ปรึกษาและวางรูปแบบกิจกรรม
      3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
                  4. ดำเนินงานตามโครงการ
                         - จัดสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
                          ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายปรับพฤติกรรมสุขภาพ ในเรื่องรับประทานอาหาร โดยสาธิตเมนูที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลดถาวะเสี่ยงในการเกิดโรค
                         - จัดสถานที่ออกกำลังกายในบริเวณมัสยิด
                         เพื่อส่งเสริมให้มีการออกกำลังกาย ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดย ประชาชนจะมามัสยิดเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา 5 เวลา คือ ในยามหัวรุ่ง ช่วงเที่ยง ช่วงบ่ายแก่ๆ ช่วงตะวันตกดิน และ อีกเวลาหนึ่ง คือช่วงหัวค่ำ   เวลากลางคืน ซึ่งขณะที่มาร่วมละหมาดนั้น ก็สามารถ ร่วมออกกำลังกายในบริเวณมัสยิดได้ มาว่าจะเป็น ลานเดินเพื่อสุขภาพ ยางยืด เป็นต้น
                         - สมุดบันทึกสุขภาพ
                         เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย มีการบันทึกสุขภาพ โดยสมุดบันทึกสุขภาพ  มี  2 ภาษา ทำให้กลุ่มเป้าหมายที่สามารถอ่านภาษา ยาวีได้ มีช่องทางในการได้รับความรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น ตลอดจนการบันทึกการออกกำลังกายเพื่อให้การออกกำลังกายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

           

           





7. งบประมาณ
                 
1.  กิจกรรมประชุมชี้แจงคณะกรรมการมัสยิด
                  -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆ25 บาท จำนวน 15 คน   เป็นเงิน 750 บาท
                  -  ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ 50 บาท จำนวน 15 คน                        เป็นเงิน 750 บาท
 2. กิจกรรมอบรมกลุ่มเป้าหมาย
                  -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆ25 บาท จำนวน 62 คน   เป็นเงิน 3,100 บาท
                  -  ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ 50 บาท จำนวน 62 คน                        เป็นเงิน 3,100 บาท
  3. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
                  - ค่าอุปกรณ์ออกกำลังกาย                                                   เป็นเงิน 3,000 บาท
                  - ค่าสมุดบันทึกสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการ 120 เล่มๆ 40 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
                  - ค่าอุปกรณ์ใช้สาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ                         เป็นเงิน 2,500 บาท
                  - ค่าตอบแทนวิทยากร 5 ชั่วโมงๆละ 400 บาท                     เป็นเงิน 2,000 บาท
                                                                                                    รวมเป็นเงิน 20,000 บาท 
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น (สองหมื่นบาทถ้วน) เป็นเงิน 20,000 บาท

8. นวัตกรรม   
1. มุมออกกำลังกายในมัสยิด  หลังจากออกกำลังกายโดยการละหมาด (ยืดเหยียด) ก็มาออกกำลังกายโดยการเดินบนลานหิน (หินลำธาร)  ซึ่งได้สร้างลานหินใต้ต้นไม้ ในบริเวณมัสยิด และหน้าบ่อปลาในบริเวณมัสยิด
                        2. สมุดบันทึกสุขภาพ  ซึ่งมี  2 ภาษา ทำให้ผู้สูงอายุ ที่สามารถอ่านภาษา ยาวีได้ มีช่องทางในการได้รับความรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น และเป็นเครื่องมือในการเตือนใจ ให้ออกกลังกาย

9. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
                        1. ความร่วมมือร่วมใจ ของชุมชนในการช่วยสร้างกระแสการตื่นตัวทางด้านสุขภาพ ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ แม่บ้าน ผู้นำศาสนา อสม. เยาวชน และกำลังสำคัญคือคณะกรรมการบริหารมัสยิด


                       
2. ให้หลักคำสอนอิสลามในเรื่องการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายจากอัลกุรอ่านและฮาดิษกระตุ้นให้ ทุกคนรักสุขภาพ
                        3. ทำให้มัสยิดเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านสุขภาพ
                        4. ส่งเสริมให้ผู้นำศาสนา พัฒนาทางด้านจิตใจ พร้อมๆกับการพัฒนาทางด้านร่างกาย

10.ปัญหาและอุปสรรค
                        ปัจจุบันการซื้ออาหารนอกบ้าน เช่นแกงถุงซึ่งมีความสะดวก และประหยัดเวลา ทำให้การควบคุมรส หวาน เค็ม มัน จึงเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหา
           

                                                               ลงชื่อ                                               ผู้รับผิดชอบโครงการ
                                                                               (นายรูสลาม  สาร๊ะ)
                                                                     เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน

                                                            ลงชื่อ                                               ผู้รับผิดชอบโครงการ
                                                                           (นางสาวอิสติณนา  มูหะมัด)
                                                                                นักวิชาการสาธาณสุข